สลิปปลอม ดูยังไง

ปลอมตัว ปลอมใจ ปลอมไปก็มีแต่ทุกข์

แต่ปลอมสลิป ทั้งทุกข์ และ ติดคุก นะจ๊ะๆ

การซื้อขายสินค้าออนไลน์ในอดีตจะเป็นผู้ซื้อที่ถูกหลอก

แต่อยู่มาผู้ซื้อกลายเป็นคนหลอกลวงเจ้าของร้านแทน

จากกรณีที่ผู้ขายสินค้าออนไลน์ ถูกลูกค้าสั่งซื้อสินค้าและทำทีว่าโอนเงินมาให้ โดยการทำสลิปการโอนเงินปลอม เพื่อตบตาเจ้าของร้าน แต่เมื่อตรวจสอบกลับพบว่าไม่มีเงินโอนเข้า

นายอาจ วิเชียรเจริญ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายงานบริหารยุทธศาสตร์องค์กร ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า สลิปการโอนเงินปลอม มีใช้มานานตั้งแต่มีตู้เอทีเอ็ม แต่ระยะหลังมานี้มีการโอนเงินผ่านระบบออนไลน์ทางโทรศัพท์มือถือเป็นส่วนใหญ่ หรือถ้าเป็นของธนาคารกสิกรไทยจะเรียกว่า โมบายแบงค์กิ้ง ของเคโมบายแบงค์กิ้งพลัส จึงมีการปลอมสลิปการโอนเงินโดยการแก้ไขตัดแต่งรูปภาพ ซึ่งได้รับแจ้งจากผู้ใช้บริการอยู่เป็นระยะ ทางธนาคารกสิกรไทยจึงได้เข้าไปอธิบายในอินเตอร์เน็ต ถึงวิธีการตรวจสอบว่าสลิปการโอนเงินปลอมนั้นเป็นอย่างไรและควรตรวจสอบอย่างไรไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ
11137782_1110933198933762_999332246_n
โดยหลักๆ ในการตรวจสอบจะต้องตรวจสอบรายการของธนาคารนั้นๆ เช่น ถ้าใช้เคโมบายแบงค์กิ้ง สามารถตรวจสอบรายการย้อนหลังในบัญชีของทางธนาคารในช่วงเวลาที่มีการโอนเงินเข้ามา จากบัญชีไหน และช่องทางไหน ส่วนอีกวิธีสามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ของทางธนาคาร โดยเข้าไปที่การตรวจสอบเอกสาร ซึ่งจะให้ลูกค้ากรอกข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ของผู้โอนเข้าบัญชีว่าเลขที่รายการอะไร จำนวนเงินเท่าไหร่ พอคลิกเข้าไปก็จะแสดงรายละเอียดผู้ใช้บริการสามารถเปรียบเทียบกับสลิปที่ได้มาว่าตรงกันหรือไม่

ส่วนวิธีสุดท้ายคือการแจ้งเตือนข้อความ SMS จากทางธนาคาร แต่จุดนี้ก็ต้องระวังเหมือนกัน เพราะการแจ้งเตือน SMS เคยมีกรณีที่คนร้ายปลอมในช่องทางนี้เหมือนกัน คือสมมุติผู้ซื้อจะโอนให้ผู้ขาย นอกจากส่งสลิปปลอมแล้วยังส่ง SMS ปลอมไปให้ด้วย ซึ่งถ้าดูดีๆ จะเป็นข้อความ SMS ธรรมดา แต่เขียนให้เหมือนของธนาคาร ถ้าผู้รับไม่ทันมองดีๆว่ามาจากโทรศัพท์มือถือก็จะไม่รู้ว่าเบอร์ที่ส่งมาไม่ได้มาจากทางธนาคาร

“คนนิยมใช้เคโมบายแบงค์กิ้งพลัส 2-3ล้านคน

มีการใช้สลิปเยอะ ก็เป็นช่องทางให้กลุ่มมิจฉาชีพใช้ช่องทางนี้กระทำผิด ผู้ขายสินค้าต้องระวังส่วนรูปแบบการปลอมสมัยก่อนมีการตัดแปะจากในกระดาษ โดยการเปลี่ยนแปลงชื่อบัญชี และตัวเลขที่ต้องการโอน ซึ่งแนบเนียนมากแยกแยะได้ยาก ส่วนปัจจุบันจะเป็นรูปภาพการโอนเงินในมือถือ ก็จะตัดต่อในโปรแกรมโฟโตช้อปในคอมพิวเตอร์ เปลี่ยนแปลงตัวเลข บัญชี จำนวนเงิน ซึ่งต้องยอมรับถ้าทำเนียนๆจะดูยากมาก แนะนำให้ตรวจสอบกับระบบธนาคาร ซึ่งผู้ที่ถูกหลอกส่วนใหญ่จะเป็นผู้ขายที่ถูกผู้ซื้อหลอกลวง ”นายอาจ เปิดเผย

ด้าน พ.ต.อ.สมพร แดงดี รอง ผบก.ปอท. ระบุว่า

การซื้อขายสินค้าออนไลน์ในอดีตจะเป็นผู้ซื้อที่ถูกหลอก

แต่อยู่มาผู้ซื้อกลายเป็นคนหลอกลวงเจ้าของร้านแทน

ซึ่งล่าสุดพบมีการทำสลิปการโอนเงินปลอมขึ้นมาอีก แสดงให้เห็นว่าการซื้อขายของออนไลน์เริ่มมีสัญญาณที่ไม่ดีเกิดขึ้น ถึงแม้ว่าการหลอกลวงโดยการทำสลิปปลอมขึ้นมาจะยังมีไม่สูงนัก เมื่อเทียบกับการที่มีผู้เสียหายได้เข้ามาแจ้งความกับตำรวจปอท. เพียง 1 ราย เมื่อเดือนที่ผ่านมา แต่ตำรวจก็ได้เข้มงวดตรวจสอบการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์อย่างสม่ำเสมอ เพราะการหลอกลวงในลักษณะนี้แกะรอยคนร้ายไม่ยาก เพราะมีหลักฐานการส่งของไปยังที่อยู่อาศัยของคนร้าย ตำรวจก็สามารถตามไปจับกุมได้ เป็นเรื่องไม่ยากที่จะดำเนินคดี

รอง ผบก.ปอท. ยังบอกถึงวิธีการของกลุ่มมิจฉาชีพที่ทำการปลอมสลิปโอนเงิน โดยใช้รูปแบบจริงของสลิปโอนเงิน ไม่ว่าจะเป็นการโอนเงินทางออนไลน์หรือโอนทางตู้เอทีเอ็ม คนร้ายจะใช้วิธีการตัดแปะตัวเลขตกแต่ง ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการแต่งภาพโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมโฟโต้ช้อป เป็นเรื่องที่หลอกลวงโดยใช้ข้อความอันเป็นเท็จ แต่ใช้รูปแบบที่ธนาคารออกสลิปหลักฐานการโอนเงินให้มาเป็นตัวอย่างให้ตัดแปะตัวเลขของตัวเงินหรือเลขบัญชี ให้ตรงกับข้อมูลที่จะหลอกผู้ขาย ซึ่งขณะนี้ถ้าดูตามเว็บไซต์หรือออนไลน์ก็มีการแชร์เตือนภัยกันเป็นจำนวนมาก

 

“วิธีการปลอมใบสลิปการโอนเงิน เพียงแค่เปลี่ยนยอดเงินโอน เวลาการโอน เลขบัญชีธนาคาร และส่งให้กับผู้ค้า พร้อมส่งข้อความ SMS การโอนเงินปลอมที่ไม่ได้ส่งมาจากธนาคารโดยตรง แต่เป็นเบอร์ของมิจฉาชีพ แต่ใช้วิธีการพิมพ์ข้อความลอกเลียน SMS ของธนาคารแล้วส่งมายังผู้ค้า จึงอยากเตือนให้ผู้ค้าควรตรวจสอบการโอนเงินของลูกค้าก่อนที่จะส่งของไปให้ ว่าเงินได้เข้ามาในระบบแล้วหรือไม่” รองผบก.ปอท. กล่าว

ส่วนมาตรการๆแก้ปัญหานี้มีอยู่ 2 ส่วน คือตำรวจต้องประชาสัมพันธ์ให้เจ้าของร้านตรวจสอบสลิปการโอนเงิน ก่อนตัดสินใจการซื้อขายสินค้าและส่งของไปให้ ว่าเงินเข้ามาแล้วหรือไม่ ยิ่งปัจจุบันผู้ค้ามีระบบออนไลน์ในการตรวจสอบยอดเงิน และสามารถตรวจสอบได้ว่ามาจากบัญชีของบุคคลใด ส่วนผู้ซื้อก็เช่นเดียวกัน ถ้าไม่อยากถูกหลอกก็ควรตรวจสอบสินค้าให้ดี โดยการตรวจสอบทั้งตัวสินค้า ทั้งผู้ขาย และจุดนัดรับสินค้า

(ขอบคุณภาพ-beartai.com)

หน้าตา และ รายชื่อ นักปลอมสลิปทั้งหลาย11189680_1390488457944442_565078263_n

11273342_374865259391191_1591459996_n

11247006_385976871594245_856740291_n

 

ดูเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ครับ

 

โตไปไม่โกง นะจ๊ะๆ

ทรงกางเกงที่ดี สร้างภาพลักษณ์ที่เด่น

เคยเห็นมั้ยครับ กางเกงบางคนที่เข้าวิน ไปในง่ามก้น

หรือ กางเกงบางตัวที่คนใส่แล้ว ก้นแบนเป็นไม้กระดาน     

  • ในภาพกางเกงสีน้ำเงินตัวนี้Screen Shot 2559-07-07 at 7.28.34 PM ผ้าส่วนที่รับก้น หายไปจำนวนนึง ทำให้ดึงรั้งเนื้อส่วนแก้มก้นให้แบน นอกจากก้นจะดูแฟบๆ  แบนๆ แล้วจะเห็นขอบกางเกงในตลอดเวลาที่ใส่

ภาพต่อมา

  • ตัวสีกากีนี้เป็นอีกมุมที่จะให้ดูว่า ส่วนท้องก้นโดนรั้งจนแน่น   เนื้อที่ก้นปลิ้นไป ปลิ้นมา ไม่น่าจะดูดีนะครับ
  •    สาเหตุเพราะเนื้อผ้าส่วนนี้น้อยเกินไป Screen Shot 2559-07-07 at 7.27.49 PM  ต้องเพิ่มให้ผ้าส่วนท้องก้นที่ติดกับเป้าด้านหน้า มีสัดส่วนที่มากขึ้นจะทำให้ทรงกางเกงดูสวย รับกับสรีระคนจริงๆ
  • อีกประเด็นคือความกว้างของขา ต้องเหมาะสม Screen Shot 2559-07-07 at 7.28.05 PM  ในภาพที่สามนี้ รัดแน่นไป

 

ทรงกางเกงสวย

สาเหตุเหล่านั้น เกิดจาก ช่างที่สร้างแบบตัดผ้า

ขาดประสบการณ์ หรือ เจ้าของงานต้องการประหยัดผ้า ทำให้แบบกางเกงออกมา ดูเผินๆ ก็สวยดี แต่ใส่แล้วตูดแบน ขาบาน  หมดหล่อ

ถึงราคาจะถูกแค่ไหน เวลาไม่อยากใส่ ก็แพงทันที

เพราะซื้อมาแล้วไม่อยากใส่ ก็เรียกว่า เสียตังค์ฟรี

คราวนี้พอจะนึกออกใช่มั้ยครับ ว่า แค่สีสวย ลายสวย ใส่ไม่สวยเป็นเพราะอะไร

รูปทรง ของต้นแบบในการตัดผ้า สำคัญที่สุดครับ

กางเกงทรงสวย ใส่แล้วดูดี มีความเชื่อมั่น แต่งตัวเบสิก ก็หล่อได้


FB : hyperbkk
IG : hyper_bangkok
เมาท์สด โทร 089 1100086

หล่อเฟี้ยว ระดับเซเล็ป ไม่เจ็บกระเป๋าตังค์ : เสื้อผ้าแบรนด์ไฮเปอร์ Hyper “  www.hyperbangkok.com